บริษัท บีทาเก้น จำกัด
บริษัท บีทาเก้นจำกัด ได้ก่อตั้งโดยนายสมพงษ์ อรรถสกุลชัย ในปี พศ.2534
ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยแอ็ดว้านซ์ฟูด(1991) จำกัด
เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภท นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์
และโยเกิร์ตพาสเจอร์ไรส์ ตรา บีทาเก้น ซึ่งบริษัทฯได้วิจัย พัฒนา
และคัดสรรวัตถุดิบที่ดี เพื่อนำมาผลิตสินค้า ที่มี
จุลินทรีย์แลคโทบาซิลลัสสายพันธ์ดี CASEI ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
และรสชาติสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
โดยบริษัทมีระบบการจัดจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด และหนุ่ม-สาวบีทาเก้นทั่วประเทศ
1 กรกฎาคม 2550 บริษัท ไทยแอ็ดว้านซ์ฟูด(1991)จำกัด
ได้ร่วมทุนกับ บริษัท คัมพินา ประเทศเนเธอแลนด์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท
บีทาเก้นจำกัด จนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์องค์กร
เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต รูปแบบโฮมเมดที่มีคุณภาพ
และความหลากหลายเทียบเท่าร้านโยเกิร์ตชั้นนำ
และเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต
วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนมที่เน้นการใช้จุลินทรีย์แล็คโทบาซิลลัสในกลุ่มโพรไบโอติคส์เป็นหลัก
เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดี รวมทั้งมุ่งพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ เพื่อน ำ บีทาเก้น ไปสู่ระดับสากล
พันธกิจ
- ยึดมั่นในการผลิตสินค้าและคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใตการควบคุมคุณภาพที่ เข้มงวดทุกขั้นตอน
- วางแแผนการบริหารและก าหนดกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้น ำในฐานะ ผู้ผลิตและจัดจ ำหน่ายผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์และ โยเกิร์ตในประเทศไทย
- ขยายธุรกิจสู่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียภายใต้สินค้าแบรนด์บีทาเก้น
แผนกขาย
· หน้าที่
มีหน้าที่ในการบริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า โดยแผนกขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ และข้อมูลการสั่งซื้อ
ปัญหา
1. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ ซึ่งมีเอกสารดังนี้
1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
1.2 เอกสารข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
1.3 เอกสารเกี่ยวกับสินค้า
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีเยอะและจัดเก็บไว้หลายที่
4. ข้อมูลมีการสูญหาย เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารที่ต้องการอยู่ตรงไหน เนื่องจากการเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบอาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
5. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
6. ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลง เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย ๆ
แผนกบัญชี
· หน้าที่
มีหน้าที่ในการจัดเก็บเงินค่าสินค้าและจัดทำบัญชีของบริษัทพร้อมทั้งทำรายงานงบการเงินเสนอผู้บริหาร โดยรับข้อมูลการสั่งซื้อจากแผนกขาย
ปัญหา
1. เอกสารมีจำนวนมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
4. เอกสารสูญหาย เพราะเอกสารมีจำนวนมาก
และเอกสารส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการเงิน
หากสูญหายอาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายอย่างมาก
5. การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ช้า
ไม่สะดวกรวดเร็ว
6. ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหาย
7. รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก
เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
แผนกคลังสินค้า
· หน้าที่
มีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าและรับข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยังแผนกจัดส่งสินค้า
ปัญหา
1. เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด
ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร
เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
4. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
5. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
แผนกจัดส่งสินค้า
· หน้าที่
มีหน้าที่ในการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าหรือผู้บริโภค โดยรับสินค้าจากแผนกคลังสินค้า
ปัญหา
1. เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. ถ้าข้อมูลสูญหายจะทำให้ไม่สามารถไปจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
4. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
5. ข้อมูลมีความแตกต่าง เช่น ลูกค้ามีที่อยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าจะจัดส่งสินค้าให้ที่ไหน
ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกบัญชี
1. ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารในการสั่งซื้อสูญหาย
แผนกบัญชีจะไม่ทราบยอดการสั่งซื้อ
2. ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารใบชำระเงิน ของลูกค้าสูญหายแผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าจ่ายเงินหรือยัง
3. ในกรณีที่แผนกขายได้ขายสินค้าไปโดยไม่ได้แจ้งให้แผนกบัญชีทราบจะทำให้ยอดขายกับยอดการเงินไม่เท่ากัน
ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกคลังสินค้า
1. ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า
ทำให้เมื่อแผนกขายจะขายสินค้าก็จะไม่ทราบว่าสินค้ามีจำนวนเพียงพอกับการขายหรือไม่
2. ในกรณีที่แผนกขายไม่ได้ส่งยอดการสั่งซื้อและการสั่งจองในบางกรณีของลูกค้าให้แผนกคลังสินค้าทราบ ทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบว่าจะต้องมีการสั่งซื้อสินค้ามาเพิ่มหรือไม่ เพื่อให้เพียงพอสำหรับการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกจัดส่งสินค้า
- ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกคลังสินค้า
- ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกจัดส่งสินค้า
- ถ้าแผนกจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้ากับแผนกจัดส่งสินค้า
- ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ว่ามีพอสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือไม่ แผนกจัดส่งสินค้าก็อาจจะไม่มีสินค้าไปจัดส่งให้กับลูกค้า
ลักษณะของสถานประกอบการหรือแหล่งรายรับ-รายจ่าย
· - รายรับที่ทางบริษัทได้รับคือ
ได้จากการขายสินค้าและการสมัครสมาชิกของลูกค้า
· - รายจ่ายเกิดจากการสั่งซื้อสินค้า
วัตถุดิบในการผลิตและวัสดุอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ของบริษัท
ตารางแสดงรายการการทำงาน(Functions)หรือกิจกรรมทั้งหมดของบริษัท
หน้าที่
(Function)
|
หน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(Data Entities)
|
ระบบสารสนเทศ
(Information System)
|
1. การวางแผนทางธุรกิจ
|
1. ลูกค้า
|
1. ระบบการจัดการคลังสินค้า
|
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์
|
2. สินค้า
|
2. ระบบการขาย
|
3. การขายและการตลาด
|
3. ผู้จัดจำหน่าย
|
3. ระบบบัญชี
|
4. การผลิต
|
4. วัตถุดิบ
|
4. ระบบจัดส่งสินค้า
|
5. การบัญชีและการเงิน
|
5. ใบสั่งซื้อ
|
|
6. ทรัพยากรบุคคล
|
6. ใบกำกับสินค้า
|
|
7. การจัดส่งสินค้า
|
7. อุปกรณ์
|
แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activates) ของหน้าที่ของการทำงาน
(Functions) ในบริษัท
Business
Functions Supporting
Functions
การวางแผนทางธุรกิจ
|
วิเคราะห์ตลาด
|
พยากรณ์การขาย
|
|
การเจริญเติบโตในธุรกิจ
|
การวิเคราะห์แนวคิด
|
ออกแบบผลิตภัณฑ์
|
|
ทรัพยากรบุคคล
|
การจ้างงาน
|
การฝึกอบรม
|
|
การผลิต
|
ตารางการผลิต
|
การประดิษฐ์
|
|
การประกอบ
|
|
การบัญชีและการเงิน
|
บัญชีรายรับ
|
บัญชีรายจ่าย
|
|
หน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง |
ลูกค้า
|
สินค้า
|
ผู้จัด
|
วัตถุดิบ
|
ใบสั่งซื้อ
|
อุปกรณ์
|
ลูกจ้าง
|
ใบกำกับ
|
|
หน้าที่ทางธุรกิจ
|
จำหน่าย
|
สินค้า
|
|||||||
การขายและการตลาด
|
|||||||||
การวิจัยทางการตลาด
|
X
|
X
|
|||||||
การกรอกใบสั่งซื้อ
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|||||
การกระจายสินค้า
|
X
|
X
|
|||||||
การบัญชีและการเงิน
|
|||||||||
การตั้งงบประมาณเงินทุน
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|||||
บัญชีรายรับ
|
X
|
X
|
X
|
||||||
บัญชีรายจ่าย
|
X
|
X
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|||
ทรัพยากรมนุษย์
|
|||||||||
การจ้างงาน
|
X
|
||||||||
การฝึกอบรม
|
X
|
||||||||
การวางแผนทางธุรกิจ
|
|||||||||
การกำหนดกลยุทธ์
|
X
|
X
|
X
|
X
|
X
|
||||
การกำหนดตลาด
|
X
|
X
|
X
|
||||||
ประสานงานแก่ลูกจ้าง
|
X
|
||||||||
ฝึกอบรมลูกจ้างในการปฏิบัติงาน
|
X
|
||||||||
การพัฒนาผลิตภัณฑ์
|
|||||||||
การศึกษากลุ่มเป้าหมาย
|
X
|
X
|
X
|
||||||
การตรวจสอบวัตถุดิบที่ต้องการ
|
X
|
X
|
|||||||
การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|||||
การผลิต
|
|||||||||
การศึกษาวัตถุดิบ
|
X
|
X
|
|||||||
การติดต่อผู้จัดจำหน่ายตัวแทน
|
X
|
X
|
|||||||
ตรวจสอบอุปกรณ์การผลิต
|
X
|
X
|
|||||||
การจัดส่งสินค้า
|
|||||||||
ข้อมูลลูกค้า
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|||||
รายการใบสั่งซื้อ
|
X
|
X
|
X
|
X
|
ขั้นที่ 1
(Project Identification and
Selection)
1. ค้นหาโครงการที่ต้องการพัฒนา
จากการค้นหาโครงการของแผนกต่าง
ๆ สามารถรวบรวมโครงการพัฒนาระบบได้ทั้งหมด 4 โครงการดังนี้
ชื่อโครงการ
|
แผนก
|
1. โครงการพัฒนาระบบคลังสินค้า
|
คลังสินค้า
|
2. โครงการพัฒนาระบบขาย
|
ขาย
|
3. โครงการพัฒนาระบบบัญชี
|
บัญชี
|
4. โครงการพัฒนาระบบจัดส่งสินค้า
|
คลังสินค้า
|
2. จำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่ค้นหามา
เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 4 แล้ว พบว่าล้วนแล้วแต่ให้ประโยชน์กับบริษัทจึงจำเป็นต้องคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทมากที่สุด ดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการนำโครงการทั้ง 4
มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด และสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทได้ ดังรายละเอียดของตารางต่อไปนี้
(Objective)
|
ระบบ
การขาย
|
ระบบงาน
คลังสินค้า
|
ระบบ
บัญชี
|
ระบบ
จัดส่งสินค้า
|
1. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อวัตถุดิบ
|
X
|
X
|
||
2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบ
|
X
|
|||
3. เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ของบริษัท
|
X
|
X
|
X
|
|
4. เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน
|
X
|
X
|
X
|
X
|
3. เลือกโครงการที่เหมาะสม (Selecting)
จากตารางเปรียบเทียบโครงการตามวัตถุประสงค์ของบริษัทพบว่าโครงการพัฒนาระบบการขายตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทมากที่สุด แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงงบประมาณและสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทแล้วเห็นควรว่าจะต้องนำโครงการทั้ง 4 มาพิจารณาตามข้อจำกัดเพิ่มเติมได้แก่ ขนาดของโครงการ และผลประโยชน์ที่จะได้รับ เนื่องจากหากโครงการใดมีขอบเขตกว้างหรือมีขนาดใหญ่หมายถึงต้องใช้งบประมาณสูง ทำให้เกิดต้นทุนสูงซึ่งปัจจุบันบริษัทยังไม่สามารถทำได้ แสดงรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางเมตริกซ์ Information System –to-Objectives
ระบบสารสนเทศ (Information System)
|
ระบบ
|
ระบบงาน
|
ระบบ
|
ระบบคลัง
|
|
วัตถุประสงค์ (Objective)
|
การขาบ
|
คลังสินค้า
|
บัญชี
|
สินค้า
|
|
และผลประโยชน์
|
|||||
วัตถุประสงค์ตามแผนกลยุทธ์
|
|||||
1. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสิ่งซื้อวัตถุดิบ
|
X
|
X
|
|||
2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบ
|
X
|
||||
3. เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ของบริษัท
|
X
|
X
|
X
|
||
4. เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|
ขนาดโครงการ
|
|||||
1. ขนาดเล็ก
|
X
|
||||
2. ขนาดกลาง
|
X
|
X
|
|||
3. ขนาดใหญ่
|
X
|
||||
ผลประโยชน์
|
|||||
1. ลดภาระของแผนกบัญชี
|
X
|
X
|
X
|
||
2. แต่ละแผนกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
|
X
|
||||
3. สามารถจัดทำรายงานได้ทันตามความต้องการ
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|
4. สามารถค้นหาข้อมูลได้เร็ว
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
|
X
|
X
|
X
|
X
|
|
6. ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนได้
|
X
|
X
|
ตารางที่ 4 เมตริกซ์ Information System –to-Objectives
จากการพิจารณาโครงการทั้ง 4 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดโครงการ และผลประโยชน์ จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ โครงการพัฒนาระบบคลังสินค้า จึงปฏิเสธโครงการทั้ง 3 ระบบ ถึงแม้ว่าจะให้ผลประโยชน์และสามารถนำบริษัทไปสู่เป้าหมายได้
แต่ทางผู้บริหารให้ชะลอไว้ก่อน เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่จึงต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก
แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน
โดยจะบอกถึงรายระเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้ ระบบงานคลังสินค้า ระบบการขาย ระบบบัญชี ระบบจัดส่งสินค้า
โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิน 2 ทางเลือก
1.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
2.ให้ทีมงานของเราพัฒนาระบบเอง
สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาเอง
เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานหรือรองรับการเปลี่ยนแปลงการทำงานในระบบได้
และสามารถคอยกำกับดูแลการทำงานให้ตรงไปตามวัตถุประสงค์ได้อย่างที่วางไว้
การวางแผนโครงการ
(Project Planning)
เป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศเพื่อการบริหารคลังสินค้ามาใช้งานในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบ
ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายในการรักษาวัตถุดิบ
วัตถุประสงค์
โครงการพัฒนาระบบคลังสินค้ามีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบคลังสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบคลังสินค้าได้มีการจัดทำขึ้นโดยทีมงานพัฒนาสารสนเทศภายในบริษัทเอง(In-House
Development) พร้อมนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
2. ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
3. ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลวัตถุดิบและการค้นหาข้อมูลวัตถุดิบเกิดความซ้ำซ้อน
2. การจัดเก็บข้อมูลของสินค้าไม่เป็นระบบ
3. ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
4.
เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อมูลเกิด ความเสียหายและสูญหายได้
5. การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน
ความต้องการในระบบใหม่
· ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
1. ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
2. สามารถเก็บ และตรวจสอบวัตถุดิบได้
3. สามารถเพิ่ม
แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของวัตถุดิบและข้อมูลคลังสินค้าได้
4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น
บัญชี พนักงานขาย พนักงานเช็คสต็อก พนักงานจัดส่งสินค้า เป็นต้น
5. การจัดทำรายงานสรุปที่สะดวกรวดเร็วในการเสนอต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการ
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1. องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
2. องค์กรสามารถตัดสินใจในการซื้อวัตถุดิบได้
3. องค์กรมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
4. ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ที่มีความรวดเร็ว
5. ขั้นตอนการซื้อวัตถุดิบ-รับคืนวัตถุดิบ มีความถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
6. สามารถจัดเก็บข้อมูลวัตถุดิบ
ทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบได้รวดเร็วและถูกต้อง และมีเอกสารยืนยัน
7. การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
8. สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทต่อไปได้
แนวทางในการพัฒนา
การพัฒนาระบบของบริษัท บีทาเก้น จำกัด เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการจัดซื้อวัตถุดิบเข้าสู่คลังสินค้า และการส่งคืนวัตถุดิบไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องเช่น การทำงานของพนักงานในแต่ละหน้าที่ ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง
ๆ อาจจะมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน ก่อนที่เราจะมาวิเคราะห์ระบบเราจะต้องทำการจำลองหรือศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่และข้อมูลทั้งหมดว่า ระบบที่เราต้องการวิเคราะห์เหมาะสมกับระบบการทำงานเดิมของบริษัทหรือไม่ซึ่งจะแบ่งการทำงานออกเป็น
7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบเชิงตรรกะ
5. การออกแบบเชิงกายภาพ
6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7. การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project
Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัทบีทาเก้นจำกัดข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
- การคลังสินค้าสินค้า
- การจัดซื้อจ่ายวัตถุดิบ
- การรับคืนวัตถุดิบ
ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
1. เริ่มต้นทำโครงการ
ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
2. กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
3. วางแผนการทำงานของระบบใหม่
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์
1.ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของบริษัท มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบคลังสินค้า
2.การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบ ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เช่น ในการสั่งจ่ายวัตถุดิบก็จะมีแบบฟอร์มในการสั่งจ่ายวัตถุดิบให้กรอก หรือแม้แต่แบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลการรับคืนวัตถุดิบและการออกแบบฐานข้อมูลในโปรแกรมต่าง
ๆ
ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
1. เขียนโปรแกรม
2. ทดสอบโปรแกรม
3. ติดตั้งระบบ
4. จัดทำเอกสาร
สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุงระบบ
อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบการขาย การจัดเก็บข้อมูลสินค้า และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านของระบบที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือทางบริษัทจ้างให้ทำการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งบุคคลจะต้องดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการดูแลระบบ เช่น
1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ พนักงานหรือทีมโปรแกรม จำทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. โปรแกรมเมอร์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ 2 คน ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
จากดังกล่าวเราอาจจะมีการแบ่งงานออกเป็นทีมหรือว่ามีการระบุหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายหรือแต่ละคนทราบ เพื่อที่งานจะประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วหรือเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่านี้ มีรายละเอียดพอเข้าใจดังนี้
1. เครื่องแม่ข่าย(Server) จำนวน 3 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย(Workstation) จำนวน 20 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์(Printer)
จำนวน 4 เครื่อง
ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
1. ระบบโปรแกรม 1 ระบบ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามจำนวนที่บริษัทต้องการ
3. บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
4. อุปกรณ์อื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ
ทรัพยากร
|
จำนวน
|
บุคลากรที่มีความรู้
|
|
- นักวิเคราะห์ระบบ
- โปรแกรมเมอร์
|
1
1-2
|
อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์
|
|
- อุปกรณ์ทางฮาร์ดแวร์
- คอมพิวเตอร์
- อุปกรณ์ต่อพ่วง
- ซอฟต์แวร์
- โปรแกรมที่นำมาใช้
|
5-10 เครื่องหรือมากกว่านั้น
5-10 ชุดตามความเหมาะสม
1-2 โปรแกรมแล้วแต่ระบบที่ใช้
|
สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1. ในส่วนของผู้บริหาร
- ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
* นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์
50000
2. แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ
- ค่าการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระบบใหม่
15000
3. การจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ
- เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ
30000
- อื่น ๆ
5000
ประมาณการใช้งบประมาณ
จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าว
ๆ ที่ทางองค์กรจ่ายในการปรับปรุงระบบ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ที่ใช้เพราะในแต่ละองค์กรจะมีหลายแผนกในการทำงานและงานในแต่ละระบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไม่เท่ากัน
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของ
บริษัทบีทาเก้น จำกัด ที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบคลังสินค้าเพื่อความสะดวกในส่วนของบริษัทและวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานนั้นเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึงขั้นตอนต่าง
ๆ
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
จากดำเนินการดังกล่าวระยะเวลาที่ใช้จริง
ๆ ในการวิเคราะห์อาจจะไม่พอแต่เพื่อเป็นการสรุปอย่างคร่าว ๆ
ว่าเราได้ดำเนินการอะไรไปบ้างและระบบใหม่ที่ได้จะเสร็จภายในกี่วัน ซึ่งเราก็ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของ
บริษัทบีทาเก้น จำกัด ส่วนใหญ่บริษัทจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ
ที่เราได้ทำก็จะจัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหารเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆเพื่อความเข้าใจง่าย 4 ด้านดังนี้
1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
ในส่วนนี้อาจจะเกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ขอระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่น
โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
ทำการศึกษาด้านต่าง ๆ
ในการปฏิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท
ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ การทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไร
จากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นที่ตรงตามความต้องการของบริษัท
ขั้นที่ 3
(System Requirements Determination)
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานขายได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นคอนที่ผ่านมา และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว ในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ จึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งรวมทั้งรายละเอียดในการทำงานในปัจจุบันและความต้องการในระบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถา(Questionnaire) สำหรับวิธีการออกแบบสอบถาม ทีมงามสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็นเหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อยและผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบ ซึ่งบุคคลที่ทางทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้
ออกแบบสอบถาม (Questionnaire) บุคคลที่ตอบแบบสอบถาม
คือ ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ
การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีการจดบันทึก ดังเช่น วิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก ไม่รวบกวนเวลาของผู้จัดการมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามอีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูลดังตัวอย่าง
แบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารคลังสินค้า
สำหรับแผนกคลังสินค้า
|
ส่วนที่ 1
กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้ ด้วยการอธิบาย
1. กรุณาอธิบายหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ.....................................................................................................................................
2.
พนักงานในแผนกคลังสินค้ามีทั้งหมดมีกี่คน........................................................................................................................
3.
กรุณาอธิบายขั้นตอนการทำงานในแผนกคลังสินค้า............................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
4.
รายงานที่แผนกคลังจะต้องเสนอต่อผู้บริหารมีอะไรบ้าง.....................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
5.
ข้อมูลส่วนใดบ้างที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
6.
ใช้โปรแกรมใดในการจัดเก็บข้อมูล......................................................................................................................................
|
ส่วนที่ 2
กรุณาทำเครื่องหมายหน้าข้อที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
1.
การแจ้งผลการสมัครสมาชิกทางแผนกใช้วิธีการใด
q โทรศัพท์ q ส่งจดหมาย q อีเมล์
2.
มีการจัดเก็บข้อมูลของผู้สมัครไว้ด้วยวิธีอะไรบ้าง
q แฟ้มข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ qแฟ้มเอกสาร q แผ่นดิส
3.
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเพื่อสมัครงานที่ไม่ได้ผ่านการตัดเลือก
q ไม่มีการเก็บ q 1-3 เดือน q 4-6 เดือน q 1-3 ปี
|
.
ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลได้ดังนี้
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่
3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์มและรายงานของระบบเดิม
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ระบบเดิม ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่ายแบบ LAN ประกอบไปด้วย
1. เครื่องแม่ข่าย (Server) จำนวน 2 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย จำนวน 15 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์(Printer) จำนวน 2 เครื่อง
4. อุปกรณ์ในการต่อพวงอื่นที่เกี่ยวข้องที่ทางบริษัทได้นำมาใช้งานของสำนักงานเป็นต้น
2. ความต้องการในระบบใหม่ จากแบบสอบถามทางทีมงานสามารถสรุปความต้องการในระบบใหม่ได้ดังต่อไปนี้
1. องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของคลังสินค้าได้
2. องค์กรสามารถตัดสินใจในการจัดจำหน่ายสินค้าได้
3. องค์กรมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
4. ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ที่มีความรวดเร็ว
5. ขั้นตอนการซื้อ-รับคืนวัตถุดิบ มีความถูกต้อง
ชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
6. การติดต่อซื้อวัตถุดิบได้สะดวกรวดเร็วเพราะเรามีข้อมูลของวัตถุดิบ
7. สามารถจัดเก็บข้อมูลวัตถุดิบ
ทำให้การซื้อวัตถุดิบได้รวดเร็วและถูกต้อง และมีเอกสารยืนยันให้
8. การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
9. สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทต่อไปได
10. มอบความน่าเชื่อถือให้บริษัท
ความต้องการของระบบใหม่ของผู้ใช้ (User Requirement)
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ ตามความต้องการที่กล่าวมาแล้วขั้นต้นเช่น
1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้
2. สามารถทำการเพิ่ม ลบ แก้ไขจำนวนข้อมูลที่ต้องการได้
3. สามารถเก็บประวัติข้อมูลของวัตถุดิบได้
4. สามารถทำการสั่งซื้อวัตถุดิบและแสดงรายการใบเสร็จสั่งซื้อได้
5. พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลและใช้งานระบบได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ
6. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกคลังสินค้า
7. การจัดทำรายงานมีความสะดวกและรวดเร็ว
8. เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท และการเพิ่มขึ้นของจำนวนลูกค้าที่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิก
เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ระบบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ระบบงานคลังสินค้า ระบบการขาย ระบบบัญชี ระบบจัดส่งสินค้า จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 ระบบนี้สามารถครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ โดยทางทีมงานจะวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานภายในแต่ละระบบย่อย โดยจำลองเป็นแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) และเจาะระบบตามที่ต้องการต่อไปเพื่อนำเสนอต่อไป
ขั้นที่ 4
(Process Modeling)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
(System
Requirement Structuring)
จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD
จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ โดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ได้ดังนี้
จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ โดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ได้ดังนี้
อธิบาย Context
Diagram
จาก Context
Diagram ของระบบคลังสินค้าซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบการขายนี้ได้แก่ พนักงานคลังสินค้า และผู้จัดการ ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External
Agents ดังกล่าวกับระบบทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบการขายนี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง (แต่จะไม่ทราบว่าทำอย่างไร) สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Data
Flows เข้าและออกระหว่าง External
Agents ของระบบได้ดังนี้
1. พนักงานคลังสินค้า
- ส่งข้อมูลเกี่ยววัตถุดิบ
- รับรายงานเกี่ยวกับวัตถุดิบ
2. ผู้จัดการ
- ข้อมูลการอนุมัติการปรับปรุงจำนวนวัตถุดิบ
- รายงานการตรวจยอดสูญหาย
อธิบาย DFD LEVEL 0
จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบการขายออกเป็น 3 ขั้นตอน (Process) ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยการแบ่งแยกแต่ละ Process ตามหมวดหมู่ของข้อมูล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. Process 1 จัดการข้อมูล เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าที่จัดการข้อมูลทั้งหมดของระบบ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อพนักงานต้องการปรับปรุงข้อมูลหรือว่าเรียกดูข้อมูลที่ต้องการจะส่งข้อมูลที่ต้องการปรับปรุงเรียกดูเข้าสู่ระบบจากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลรับคืนวัตถุดิบหรือแฟ้มสั่งจ่ายวัตถุดิบมาทำการปรับปรุง เมื่อทำการปรับปรุงเรียบร้อย Process จะส่งข้อมูลไปจัดเก็บในแฟ้มข้อมูลเดิม ข้อมูลที่ได้ผ่านการปรับปรุงเรียกดู Process จะทำการส่งข้อมูลที่พนักงานต้องการเรียกดูไปให้กับพนักงาน
2. Process 2 บันทึกรายการ เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าที่ทำการค้นหาข้อมูลวัตถุดิบ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อต้องการสืบค้นข้อมูลวัติดิบ
จะทำการส่งรายการที่ต้องการค้นหาเข้าสู่ระบบ จากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลวัตถุดิบแล้วระบบจะทำการแสดงรายการที่ค้นหา
3. Process 3 รายงาน เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อวัตถุดิบ
สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อต้องการสั่งซื้อวัตถุดิบจะส่งรายการสั่งซื้อวัตถุดิบเข้าสู่ระบบ จากนั้น Process จะทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยจะนำข้อมูลไปบันทึกที่แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและจะส่งใบสั่งซื้อวัตถุดิบ
แบบจำลองข้อมูล (Data Modeling)
ขั้นตอนการกำหนดความต้องการของระบบด้วย E-R Diagram
นอกจากการจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ(Process Modeling) ด้วยแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagrma) ในการกำหนดความต้องการของระบบแล้วยังต้องจำลองข้อมูล(Data Modeling) ทั้งหมดในระบบด้วยแผนภาพแสดงความสัมพัทธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram:E-R Diagram) โดยข้อมูลนั้นมีความหมายรวมทั้งแต่ข้อมูลที่อยู่บนเอกสารหรือรายงานต่าง
ๆ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ ซึ่งแบบจำลองทั้ง 2 ที่แสดงให้เห็นเป็นแบบจำลองของระบบการจัดการคลังสินค้า ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่จะนำมาใช้แทนระบบเดิมของบริษัท ส่วนข้อมูลเดิมของบริษัท ในที่นี้ไม่ได้ทำการจำลองแบบไว้ เนื่องจากเป็นการลดขั้นตอนการพัฒนาระบบทำให้ใช้ระยะเวลาน้อยลงนั่นเอง
(Physical Database Design)
การออกแบบฐานข้อมูลในระดับ Physical ของระบบการจัดการคลังสินค้า
โครงการพัฒนาระบบจัดการคลังสินค้า
ได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลในระดับ Physicalโดยทางทีมงานเลือกใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
ดังนั้นในขั้นตอนนี้ทางทีมงานจึงเริ่มต้นด้วยการกำหนดโครงสร้างทางกายภาพให้กับ Table ซึ่งก็คือ Relation ที่ได้จากการแปลง Entity และ Relationship จาก E-R
Diagram ในขั้นตอนที่ผ่านมานั่นเอง ในแต่ละ Table
(Relation) ประกอบไปด้วย Attribute ต่างๆมากมาย ที่จะต้องกำหนดชนิด ขนาด
และความกว้างของข้อมูลรวมทั้งประเภทของคีย์ (Key) ของ Attribute ให้กับแต่ละ Table ในระบบจัดการคลังสินค้า
ขั้นที่ 7
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
(System Implementation)
คู่มือการใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสินค้าคงคลัง
ทีมงานได้จัดทำเอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบคลังสินค้า
เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
โปรแกรมระบบการขาย
เป็นโปแกรมที่ทำงานในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 5
ระบบได้แก่
1. ระบบจัดการข้อมูล เป็นระบบเพื่อการปรับปรุงข้อมูล และสามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นได้ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลบ แก้ไข ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
2. ระบบบันทึกรายการ เป็นระบบเพื่อบันทึกวัตถุดิบ รายละเอียดวัตถุดิบ ซึ่งระบบจะทำการส่งผลการสืบค้นแสดงทางหน้าจอทันที
3. ระบบรายงาน เป็นระบบที่บันทึกรายงานการส่งจ่ายและรับคืนวัตถุดิบ
ซึ่งระบบนี้จะทำการส่งผลการสืบค้นทันที